เป็นหลุมสิวทำไงดี

หลุมสิวคืออะไร

หลุมสิว(Atrophic Scars) เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับความเสียหายรุนแรง ซึ่งความเสียหายนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของสิวหรือการบีบสิว ทำให้เนื้อเยื่อในชั้นลึกของผิวหนังได้รับความเสียหาย

เมื่อสิวหายไปแล้ว ผิวหนังจะพยายามซ่อมแซมความเสียหายด้วยการสร้างคอลลาเจนใหม่ แต่คอลลาเจนที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้อาจจะไม่เรียบเท่าเดิม ทำให้เกิดรอยแผลเป็นหรือหลุมสิว

สิวมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

สิวมี 6 ชนิด โดยมีดังนี้

  1. สิวหัวขาว (Whiteheads) : เป็นสิวอุดตันหัวปิด มีลักษณะเป็นจุดขาวบนผิวหนังเล็ก ๆ  มักเกิดจากการขับไขมันที่ผิวถูกปิดกั้นด้วยเซลล์ผิวหนังที่ตายและสิ่งสกปรกจนเกิดการอุดตัน
  2. สิวดำ (Blackheads) : เป็นอุดตันหัวเปิด มีลักษณะเป็นจุดดำบนผิวหนังเล็ก ๆ  เกิดจากการขับไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายปิดรูขุมขน และเมื่อสัมผัสกับอากาศจึงเปลี่ยนเป็นสีดำ
  3. สิวอักเสบ (Papules) : เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นจุดแดงๆ บนผิวหนัง มักจะรู้สึกเจ็บ เกิดจากการอักเสบของรูขุมขนผสมกับการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณดังกล่าว
  4. สิวหัวหนอง (Pustules) : เป็นสิวที่มีลักษณะเป็นจุดแดงๆ และมีหัวสีขาวหรือเหลืองที่กลาง เกิดจากการอักเสบที่รุนแรงขึ้นและใช้เวลาในการพัฒนาสักระยะมาจากสิวอักเสบ
  5. สิวเป็นไต (Nodules) : เป็นสิวที่มีขนาดใหญ่และลึกลงไปในผิวหนัง มักจะรู้สึกเจ็บ เกิดจากการะติดเชื่อลึกลงไปในชั้นผิวหนังที่ลึกขึ้น จึงเกิดเป็นการอักเสบที่รุนแรงมาก
  6. สิวหัวช้าง (Cysts) : เป็นสิวที่มีขนาดใหญ่และลึกลงไปในผิวหนัง มักจะรู้สึกเจ็บและมีน้ำเหลืองอยู่ภายใน เกิดจากการอักเสบที่รุนแรงมากกว่าสิวเป็นไต

สิวชนิดไหนที่ก่อให้เกิดหลุมสิวบ้าง

หลุมสิวเกิดจากผิวหนังได้รับความเสียหายรุนแรงถึงแม้จะไม่มีการแตะหรือบีบสิว สิวเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดหลุมสิวได้เช่นกัน โดยจะเรียงลำดับจากโอกาสในการเกิดหลุมสิวจากน้อยไปมาก ดังนี้

  1. สิวหัวหนอง (Papules)
  2. สิวเป็นไต (Nodules)
  3. สิวหัวช้าง (Cysts)

แม้ในบางครั้งการแต้มสิวอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความสะดวกสบาย แต่หากมีสิวหัวช้างเกิดขี้น ซึ่งมีการอักเสบที่รุนแรงและขนาดใหญ่ ควรรีบไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อปรึกษาและหาวิธีีัการรักษาอย่างถูกต้อง 

หลุมสิวมีกี่ประเภท

หลังจากที่สิวยุบตัวลง และในบางกรณีอาจมีหลุมสิวเกิดขึ้นตามมา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  • หลุมสิวประเภท Ice Pick Scars
    Ice Pick Scar เป็นหลุมสิวที่พบได้บ่อยสุด เกิดจากการบีบ กด สิวอุดตันให้หลุดออกมา มีลักษณะเหมือนทรงกรวยกลับหัวทิ่มลงไปที่ผิวหนังถึงชั้นหนังกกำพร้าหรือเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง มักมีความลึกไม่เกิน 2 มิลลิเมตร มีระดับความรุนแรงที่สุด รักษาได้ยากสุด 
  • หลุมสิวประเภท Box Scar
    Box Scar มีลักษณะเป็นบ่อ มีขนาดกว้าง เห็นขอบได้ชัดเจน รอยแผลมักมีความกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร มีพังผืดร่วมด้วยบริเวณชั้นหนังแท้ มีระดับความรุนแรงปานกลาง รักษาได้ง่ายปานกลาง
  • หลุมสิวประเภท Rolling Scar
    Rolling Scar มีลักษณะเป็นรอยแผลกว้างเว้าลงไปเป็นแอ่ง เป็นหลุมสิวแค่เพียงส่วนบนของผิวหนังจึงมีความรุนแรงน้อยสุด และรักษาได้ง่ายสุด

วิธีการรักษาและลดรอยหลุมสิว

การรักษาหลุมสิวนั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดของหลุมสิว ความซับซ้อน ความรุนแรง ระดับความง่ายทางการรักษา ในบางกรณีสามารถนำวิธีต่าง ๆ เหล่านี้มาทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  1. รักษาด้วยเลเซอร์ (Laser Therapy)
    การรักษาด้วยเลเซอร์นั้นมีทั้งชนิดลอกผิว และไม่ลอกผิว การใช้งานจะถูกพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญขึ้นอยู่กับลักษณะของหลุมสิวในแต่ละเคส โดยวิธีนี้จะเข้าไปกระตุ้นผิวให้สร้างคอลาเจนและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของผิวเอง ซึ่งความถี่ของการรักษาขึ้นอยู่กับความลึก ตื้นของหลุมสิว และจำเป็นต้องมีการพักฟื้น เนื่องจากหลังเลเซอร์ผิวหนังอาจมีรอยแดง รอยช้ำ บวมแดง หรือแผลตกสะเก็ดเกิดขึ้น
  2. รักษาด้วยคลื่นวิทยุ (Radiofrequency – RF)
    การรักษาด้วย Radiofrequency จะเป็นการรักษาด้วยเครื่อง Fractora โดยตัวเครื่องจะปล่อยความร้อนเพื่อเข้าไปกระตุ้นกระบวนการสร้างคอลาเจนใหม่และทำให้การเรียงตัวคอลาเจนของผิวหนังดีขึ้น
  3. รักษาด้วยการกรอผิว (Dermabrasion)
    การกรอผิวหรือ Dermabrasion คือการนำเกล็ดอัญมณีมาทรีตเมนต์ผิวหนังเพื่อผลัดเซลล์ผิวเก่าอย่างอ่อนโยน ในขณะเดียวกันก็มีการกระตุ้นการสร้างคอลาเจนเพื่อให้ผิวหนังกลับมาเรียบเนียน วิธีนี้เหมาะกับหลุมสิวที่กว้างแต่ค่อนข้างตื้น 
  4. การตัดพังผืด (Subcision)
    การตัดพังผืดหลุมสิว เป็นวิธีการใช้เข็มขนาดเล็กตัดพังผืดใต้ผิวหนังออก เป็นการกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลาเจนขึ้นมา เพื่อเติมให้หลุมสิวนั้นตื้นขึ้น เหมาะกับหลุมสิวที่เป็นแอ่งกว้างและหลุมสิวลึกแบบ Box Scar วิธีนี้จะเห็นผลชัดเจนเมื่อทำติดต่อกัน 3-5 ครั้ง โดยเว้นระยะห่างในการทำแต่ละครั้งประมาณ 3-6 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาคอลาเจนในการสร้างพังผืดขึ้นมา
  5. ใช้กรดลอกผิว (Chemical Peeling)
    การใช้กรดลอกผิวจะเป็นการใช้กรดอ่อน ๆ ทาลงผิวหนัง โดยกรดที่ใช้ในการรักษานั้นส่วนใหญ่เป็นกรดผลไม้ หรือ TCA เพื่อผลัดเซลล์ผิวหนังเก่าให้หลุดออกแล้วสร้างผิวใหม่ขึ้นมาแทน จึงทำให้หลุมสิวนั้นตื้น เรียบเนียนมากขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะมีโอกาสที่จะเกิดรอยดำ หน้าแห้งลอก หรือแสบผิวได้
  6. ฉีดฟิลเลอร์รักษาหลุมสิว
    การฉีดฟิลเลอร์คือการรักษาหลุมสิวด้วยการเติบไฮยาลูโรนิค ที่มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำและยังช่วยในการกระตุ้นคอลาเจน เพื่อเป็นการทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น เป็นการแก้ปัญหาแบบเห็นผลได้เร็ว ไม่ทิ้งรอยแผล ไม่ต้องพักฟื้น เหมาะกับหลุมสิวแบบ Rolling Scar และ Box Scar
  7. ฉีดเมโสหลุมสิว
    วิธีนี้เป็นวิธีโดยอ้อม โดยเป็นการบำรุงผิวให้แข็งแรงจากภายในเสริมสร้างพื้นฐานผิว และลดโอกาสการเกิดสิวภายหลัง อีกทั้งตัวยาเมโสมีคุณสมบัติในการช่วยลดรอยด่างดำบนใบหน้าและยังมีวิตามินต่าง ๆ ที่ช่วยบำรุงผิว เช่น Vitamin A, B, C, E Transamin, คอลาเจน, โคเอนไซม์, Glutatione ที่ช่วยกระชับรูขุมขน และซ่อมแซมผิวหนังได้ดี

รักษาหลุมสิวที่ไหนดี

การรักษาหลุมสิวนั้นสิ่งสำคัญคือเรื่องความปลอดภัย การศึกษาข้อมูล วิธีการรักษาต่าง ๆ และเลือกคลินิกที่มีความน่าเชื่อถือ มาตรฐาน ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาล เปิดให้บริการอย่างถูกต้อง คลินิกมีความสะอาด มีเครื่องมือ อุปกรณ์ ยาและเวชภัณฑ์ครบถ้วน และแพทย์มีใบประกอบวิชาชีพและมีความเชี่ยวชาญเรื่องการรักษาสิว

สำหรับผู้อ่านทุกท่านที่มีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม ทีมแพทย์ Me’Lamoon ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ

เพื่อความสะดวกสามารถปรึกษาหมอทาง Inbox Facebook หรือทาง Line ได้เลย

>> 🏩จุดสังเกตที่ตั้งเมลามูนคลินิก🏩

คลินิกตั้งอยู่ในเมืองทองธานี   สามารถดู แผนที่ได้ที่นี่ Me’Lamoon Location

  • อยู่ห่างจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 1 กิโลเมตร
  • ถัดจากธนาคารกรุงไทยสาขาเมืองทองธานี 3 ช่วงตึก

วันเวลาทำการ

เปิด 10.30-20.00 น. [หยุดทุกวันพุธ]

Line: @melamoonclinic
Scroll to Top